แบ่งเป็น 3 บทความแยกกันโพสคือ
1. Netbay ทำอะไรอยู่
2. การเงินของ Netbay
3. ปัจจุบัน-อนาคตและความเสี่ยงจะเป็นอย่างไร
NETBAY ทำธุรกิจเป็นผู้ให้บริการธุรกรรมออนไลน์รูปแบบเอกชนกับรัฐ B2G และเอกชนกับเอกชน B2B โดยบริการของเขาสามารถแบ่งออกเป็น 3 ส่วนได้แก่
e-Logistics Trading พิธีการศุลกากรทางอินเตอร์เน็ต, ชำระภาษีทางอินเตอร์เน็ต, รายงานบัญชีสินค้าเข้าและออก, บริการผ่านพิธีการศุลกากรแบบเร่งด่วน อันนี้ถ้าอธิบายให้เข้าใจง่ายๆก็คือ ปกติการนำเข้าส่งออกต้องมีเอกสารมาส่งให้กับทางกรมศุลกากรแต่ทาง Netbay เข้ามาช่วยเป็นตัวกลางให้ทางผู้ประกอบการส่งผ่านอินเตอร์เน็ตได้เลยและเก็บค่าทำเนียมเป็นรายการไป ลูกค้าก็เป็นบริษัทนำเข้าส่งออก
e-Business Services ตัวส่งรายงานธุรกรรมไปให้สถาบันการเงิน (Electronic Transaction Reporting Gateway) อันนี้เป็นรายงานธุรกรรมต้องส่งไปให้ทาง ปปง. เพื่อความโปร่งใส และ รายงานการเคลื่อนย้ายเงินทุน (Customer Due Diligence Gateway) อันนี้คือ เป็นกฎของทางปปง. ที่ทางบริษัทการเงินต้องส่งรายงานให้แก่ ปปง. เช่น มูลค่าธุรกรรมเงินสดนั้นมีขนาดใหญ่เช่นเกิน 2 ล้านบาท, โอนเงินเกิน 1 แสนบาท, ซื้อขายอสังหาเกิน 5 ล้านบาทเป็นต้น แต่ก่อนพวกบริษัทการเงินก็ต้องไปยื่นกระดาษแต่ NetBay ก็เข้ามาเป็นตัวกลางเช่นเดิม ส่งทางออนไลน์จบ
งานให้บริการพัฒนาระบบสารสนเทศ อันนี้ก็เกิดขึ้นจาก 2 อันบน ลูกค้าเขาก็บอกว่าช่วยวางระบบในบริษัทเขาให้หน่อย เขาก็ไปดำเนินการให้ รายได้จากส่วนนี้จะรับรู้เป็นรายโครงการไป
ข้อสังเกตของเราก็คือ ถ้ามองดีๆ ส่วนใหญ่จะเป็นการทำธุรกิจที่เกี่ยวกับภาครัฐมี 2 หน่วยงานหลักๆคือ ปปง. และกรมศุลกา
ในส่วนของรายได้จากข้อมูลปี 2559
e-Logistics Trading ที่มาจากกรมศุลกากร มีรายได้ 165.21 ล้านบาท คิดเป็น 60.53% ในปี 2558 และ 2559 มีการเติบโตคิดเป็น 15.7% และ 9.8% ตามลำดับ รายได้เพิ่มไปตามจำนวนสินค้าที่นำเข้าและส่งออก ซึ่งแนวโน้มชะลอตัว
e-Business Services ที่มาจาก ปปง. มีรายได้ 86.3 ล้านบาท คิดเป็น 31.62% เติบโตเฉลี่ยปีละ 30% เป็นความหวังของทาง Netbay
ส่วนงานให้บริการพัฒนาระบบสารสนเทศ มีรายได้ 21.43 ล้านบาท 3 ปีที่ผ่านมาโตเฉลี่ย 150% ถือว่าโหดพอตัว ซึ่งตัวนี้ก็เป็นหนึ่งในดัชนีชี้วัดว่า Netbay จะเติบโตอย่างมั่นคง เพราะว่าวางระบบต้องมาก่อนและธุรกรรมต้องตามมาทีหลัง การที่รายได้ส่วนนี้โต ก็มั่นใจได้ว่า 2 อันบนต้องโตแน่นอน แต่ถึงแม้ว่าส่วนนี้จะโตเร็วและแรงแต่เราก็ไม่คาดหวังว่าจะกลายมาเป็นรายได้หลักเพราะมันคือการวางระบบ งานทำครั้งเดียวเสร็จ และเมื่อเสร็จแล้วเขาคงไม่มาแก้ไขปรับเปลี่ยนมาก มองเป็นของแถมจะดีกว่า
ส่วนของงบการเงินสิ่งที่น่าสนใจก็คือ งบกำไรขาดทุน ถ้าเกิดเราไปมองที่อัตรากำไรขั้นต้นเราจะเห็นว่าอัตรากำไรขั้นต้นมหาโหด ตัวเลขคงอยู่ที่ ประมาณ 78% สูงกว่ากลุ่มเครื่องสำอางอีก สาเหตุที่เป็นอย่างนี้ก็เพราะว่า เขาทำธุรกิจเกี่ยวกับตัวกลางการส่งเอกสารทางอินเตอร์เน็ต ต้นทุนหลักๆของเขาคือคอมซึ่งไม่มีอะไรมาก คอมไม่ขอขึ้นเงินเดือนหรือสวัสดิการณ์อยู่แล้ว นี้คือความมหัศจรรย์ของธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับอินเตอร์เน็ต
รายได้ของเขาส่วนใหญ่มาจากผู้ใช้บริการจ่ายเข้ามาเป็นรายการละ 5-50 บาท โดยส่วนใหญ่จะเป็น 10 บาท และถ้าหากว่าบริษัทไหนมีรายการมาก ก็จะเปลี่ยนเป็นเหมาจ่ายรายเดือนได้
แต่ถ้าเกิดว่าเราไปมองที่รายจ่ายของเขา ในปี 2559 รายจ่ายของเขาคือ 123.4 แบ่งเป็นค่าเช่าประมาณ 17 ล้านแต่ในส่วนที่เหลือเกี่ยวข้องกับคนล้วนๆ พนักงานของบริษัทนี้มีอยู่ 97 คน เฉลี่ยแล้วแต่ละคนสามารทำรายได้ได้ 2.85 ล้านบาทต่อคน ซึ่งถือว่าบริษัทนี้บริหารคนได้อย่างมีประสิทธิ์ภาพดีมาก ถ้าคิดเงินเดือนจะเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 41,600 บาทต่อคนต่อเดือน โบนัสของบริษัทนี้อยู่ที่ประมาณ คนละ 200,000 บาทต่อปี ซึ่งถือว่าเป็นตัวเลขที่โหดมาก น้อยมากที่จะเห็นบริษัทดูแลพนักงานดีขนาดนี้ รายจ่ายส่วนนี้ถ้าเขาเลือกที่จะลดก็ลดได้แต่คิดว่าผู้บริหารคงไม่ทำ เขาคงมีนโยบายซื้อใจพนักงานให้อยู่กับเขาไปนานๆ (ใครจะไปทำงานบริษัทนี้เจ๋งมาก)
ในส่วนของงบดุลส่วนที่น่าสนใจคือสินทรัพย์ 82.2% คือเงินสดและเงินลงทุน คิดเป็นเงิน 371 ล้านบาทที่อยู่ในบริษัท หนี้ไม่ค่อยมี จะเห็นว่าบริษัทนี้กำลังกลุ้มใจอย่างหนักว่า ไม่มีที่เก็บเงิน ซึ่งถือว่าดีมาก สินทรัพย์ อื่นๆเช่นอาคารและอุปกรณ์มีน้อยมากแสดงให้เห็นว่าเขาไม่ต้องลงทุนกับเรื่องนั้นแต่ก็ทำเงินได้มหาศาล
ROA 24.82% ROE 35.67% ROIC 35.67% ซึ่งถือว่าตัวเลขแต่ละตัวอย่างโหด นับว่าเป็นเรื่องที่ดี
ส่วนของลูกหนี้เราเชื่อว่าไม่มีใครกล้าเบี้ยวเขา ใครที่เบี้ยวก็ระงับการให้บริการ ให้เดินไปส่งเอกสารที่กรมเอง อารมณ์มันเหมือนกับการไฟฟ้า-ประปา ที่ใครไม่จ่ายก็ตัดน้ำตัดไฟ หนี้สูญเขาจึงแทบไม่มี
สรุปสั้นๆเกี่ยวกับเรื่องเงินของ Netbay คือ รวย! อู้ฟู้!
ตอนนี้เราได้รู้ละว่าบริษัทนี้มีรายได้เติบโตที่น่าสนใจ การเงินแข็งแกร่งคราวนี้เรามาดูกันว่า ถ้าเราจะลงทุนในบริษัทนี้แล้วนั้นมีโอกาศอะไรบ้างที่น่าสนใจและมีความเสี่ยงอะไรบ้างที่เราต้องติดตาม
ถึงแม้ว่าทางผู้บริหารพูดอยู่เสมอว่าเขาไม่ได้ผูกขาด ไม่มีสัมปทานอะไร ไม่มีสิทธิ์พิเศษอะไร แต่เราก็คงพิจารณาว่าบริษัทนี้คือบริษัทผูกขาดโดยพฤตินัย เรื่องราวของเขามีประมาณนี้ แต่ก่อนพวกหน่วยงานรัฐเขาก็ต้องใช้กระดาษเป็นหลัก คนที่มาติดต่อก็ต้องเดินทางมาที่หน่วยงาน แต่ว่า Netbay เห็นช่องว่างตรงนี้เลยเข้ามาทำให้ฟรีและสอนให้หน่วยงานรัฐใช้ระบบของเขา ซึ่งหน่วยงานทั้งกรมศุลกากรและปปง. เขาก็มองว่ามีแต่ได้กับได้เลยรับข้อเสนอไป เลยกลายมาเป็นอย่างในปัจจุบันนี้
คำว่าผูกขาดโดยพฤตินัยคือ ปกติถ้าเป็นระบบอะไรแบบนี้ มันจะมีเรื่องของต้นทุนการเปลี่ยนย้ายที่สูง (Switching Cost) ต่อให้มีคู่แข่งเอาโปรแกรมสุดเทพมาเสนอให้ฟรี ทางหน่วยงานเขาก็ไม่คิดจะเปลี่ยนเพราะว่า เขาต้องไปนั่งสอนพนักงานของเขาใหม่ทั้งหมดซึ่งเป็นพันเป็นหมื่นคนทั่วประเทศ มันไม่ใช่เรื่องง่าย และในระหว่างการเปลี่ยนย้ายของที่จะต้องนำเข้าส่งออกทำยังไง ถ้าเกิดให้รอหรือมีความผิดพลาดก็จะเกิดความเสียหาย และถ้าเกิดมีความเสียหายเกิดขึ้น คนที่สั่งเปลี่ยนต้องรับผิดชอบ ซึ่งแน่นอนว่าทางหน่วยงานราชการเขาไม่คิดเอาตำแหน่งหน้าที่ตัวเองไปเสี่ยงอยู่แล้ว มันเลยเกิดการผูกขาดโดยพฤตินัยเกิดขึ้น
ดังนั้นความเสี่ยงที่ว่าทางราชการจะพัฒนาระบบเองหรือให้เจ้าอื่นเข้ามาทำจึงเป็นไปได้น้อย
ความเสี่ยงกรณีที่ว่ารัฐจะเปลี่ยนแปลงกฎก็เป็นไปได้แต่ก็เป็นไปได้น้อย เพราะแนวโน้มของกฎระเบียบ มักจะมีความซับซ้อนขึ้นเรื่อยๆไม่ค่อยลดเท่าไหร่
ความเสี่ยงอย่างหนึ่งก็คือ รัฐเองก็มองเห็นตรงนี้เลยตั้งบริษัทที่ชื่อว่า เทรดสยาม จำกัด ขึ้นมาโดยมีรัฐเป็นผู้กำกับและถือหุ้น ให้ดูแลเรื่องการเปลี่ยนเป็น E-Service ซึ่งเขาเป็นเหมือนกับหน่วยงานรัฐกลายๆ It’s understood that…
ในส่วนของเรื่องของอนาคต เท่าที่ฟังจากผู้บริหารเขาเข้าใจถึงจุดแข็งของตัวเองว่าเขาโดดเด่นในเรื่องของ B2G เลยมุ่งเน้นไปส่วนนี้เป็นหลัก โดยโครงการต่อไปที่เขากำลังทำก็คือเป็นโครงการที่เกี่ยวกับกรมการขนส่ง เป็นการต่อทะเบียนรถ ซึ่งยังไม่เห็นรายได้เป็นรูปธรรมเท่าไหร่ เข้าใจว่าคงอยู่ในช่วงทดสอบอะไรกันอยู่ โดยผู้ใช้หลักๆคือบริษัท Leasing ต่างๆและเต้นรถ โดยเขาให้เหตุผลว่าระบบของเขาก็ใช้แบบ B2C ได้เหมือนกัน แต่การที่จะไปบริการในส่วนนั้นมันจะต้องจ้างคนเข้ามามหาศาล ยังจำบทความเก่าที่เราพูดถึงเรื่องเงินเดือนและค่าแรงได้ไหม? ว่ามันสูงขนาดไหน การจ้างเข้ามาเพิ่มอีกสัก 100 คน Margin จาก 32% อาจจะหล่นไปเหลือ 8% เลยก็ได้ แผนการใหญ่อื่นๆ ก็ยังไม่มี ตอนนี้ก็ได้แต่ลุ้นกับของเก่าที่เคยทำมา
ในความเห็นของเรา ลงทุนหุ้น : บริษัทนี้ก็ดีนะ แข็งแกร่ง ผูกขาดโดยพฤตินัย ถ้าต้องการลงทุนก็ต้องคาดการณ์ไปว่า โครงการที่ทำกับ ปปง. กรมศุลกากร จะเติบโตและไปสิ้นสุดที่ตรงไหน ถึงจะสามารถคำนวณออกมาเป็นมูลค่าได้