อาฟเตอร์ ยูเป็นร้านขายขนมหวานและเบเกอรี่ภายใต้ชื่อ “อาฟเตอร์ยู” และ เมโกริ ปัจจุบันมี 20 สาขา (After You 18, เมโกริ 2) สาขาเกือบทั้งหมดอยู่ในเขตกรุงเทพ

จุดเด่นที่ทางที่ผู้บริหารประกาศออกมาหลักๆก็คือเรื่องของ Brand Awareness, คุณภาพและรสชาติของผลิตภัณฑ์, การบริการ และการตลาดออนไลน์

ซึ่งรสชาติและการให้บริการ ส่วนนี้เราก็มองว่าระดับการให้บริการส่วนใหญ่ในกลุ่มร้านคาเฟ่บาร์ จะคล้ายๆกันคือบริการ OK และอาหารก็อยู่ในระกับดี ส่วนในเรื่องของแบรนด์และการทำการตลาดออนไลน์ อันนี้เราต้องมองดูในระยะยาว แต่โดยส่วนตัวแล้วก็มองว่าเป็นระดับที่คนรู้จัก แต่คงไม่ถึงขั้น Starbuck ดังนั้นเราลงทุนหุ้นก็มองจุดเด่นที่ผู้บริหารตั้งไว้ว่ากลางๆ

ในแง่ของสภาวะตลาดที่อาฟเตอร์ ยูกำลังทำธุรกิจอยู่ก็คือกลุ่มอาหาร ในปี 2557 มีมูลค่ารวมกันทั้งสิ้น 744,855.5 ล้านบาทโตเฉลี่ย 2.8 ต่อปี เรียกว่าอิ่มตัวและหากแตกย่อยลงไปเป็น คาเฟ่บาร์ ซึ่งตลาดนี้เป็นตลาดที่มีผู้ขายมากราย โดยมีมูลค่าตลาดรวมกันทั้งสิ้น 9,128.7 โตปีละ 2.5% หรือพูดง่ายๆก็คือโตตาม GDP ของประเทศเรา อาฟเตอร์ ยูมีส่วนแบ่งทางการตลาดรวม 3.4% และที่เหลืออีก 96.2% เป็นของรายย่อยที่มีสาขาต่ำกว่า 10 ร้าน

รายได้ของบริษัทปี 2557 มีรายได้ 311.14 ในปี 2559 มีรายได้ 606.38 ล้านบาท เรียกว่าเติบโตขึ้นมาเท่าตัว

ในแง่ของการเติบโตของยอดขายต่อสาขาเดิม (SSSG) ปี 2557 อยู่ที่ 26.7% (มี 10 สาขา) ปี 2558 อยู่ที่ 9.2% (มี 15 สาขา) 

ปี 2559 อยู่ที่ 7.70 ล้านบาท (มี 20 สาขา) และจากข้อมูลล่าสุดของทางหลักทรัพย์บัวหลวงในไตรมาส 2 ที่ผ่านมายอดขายสาขาเดิมชะลอตัว 4%ซึ่งถือว่าน่าเป็นห่วงในธุรกิจร้านอาหาร SSSG เป็นตัวบ่งบอกที่สำคัญว่าร้านของเรา ได้รับความนิยมไหม การที่ตัวเลขลดลงเรื่อยๆเป็นสิ่งที่น่าคิด ในวันที่ 30/6/2017 มีสาขารวมกันทั้งสิ้น 21 สาขา

ค่าใช้จ่ายของอาฟเตอร์ ยู แบ่งเป็น ค่าใช้จ่ายต้นทุนวัตถุดิบ 46.4%, ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับพนักงาน 30.3%, สถานที่ 10.9% และอื่นๆอีก 12.3%

ในส่วนของ Q2 ที่ผ่านมารายได้จากการขายเติบโตประมาณ 14.75% สืบเนื่องมาจากการเปิดสาขาใหม่ 6 สาขา

อัตรากำไรขั้นต้นปรับตัวขึ้น 3.1% ซึ่งเกิดมาจากการเพิ่มราคาของสินค้าและการจัดการวัตถุดิบได้อย่างมีประสิทธิ์ภาพ

และส่วนของค่าใช้จ่ายในการขายและการบริหารเพิ่มขึ้นสูงแปลกๆในไตรมาสนี้ทางบริษัทได้ให้เหตุผลว่าเขาเริ่มต้นขยายธุรกิจเขาเลยต้องจ้างพนักงานมาฝึกอบรมที่สำนักงานใหญ่ก่อน ทั้งที่สาขาและที่สำนักงานใหญ่ ส่งผลให้ต้นทุนเพิ่ม 18%

ส่วนของกำไรดูเผินๆปรับตัวเพิ่มขึ้น 20.6% แต่ว่าถ้ามองไปที่ไส้ในจะเห็นว่ามาจากต้นทุนทางการเงินที่ลดลงและดอกเบี้ยเงินฝากที่เพิ่มขึ้น ต้นทุนทางการเงินที่ลดลงมาจากตอนที่เขาได้เงิน IPO เขาเลยพาส่วนหนึ่งไปชำระหนี้ ส่งผลให้ลดรายได้ลงไปได้ประมาณ 2.1 ล้านบาทและมีรายได้จากเงินฝากอีก 1.24 ล้านบาท รวมกันอยู่ที่ 3.34 ล้านบาท ถ้านำไปคำนวนเพื่อหารายได้จากการดำเนินงานที่แท้จริงจะเหลือกำไร Q2 อยู่ที่ 28.1 ล้านบาท เมื่อเทียบกับปี 2559 อยู่ที่ 26.1 ล้านบาท เติบโตประมาณ 7.6%

ความเห็นของเราลงทุนหุ้น : ตัวนี้ถ้าจะเดิมพันธ์ต้องเดิมพันธ์กันที่อนาคตการขยายตัวของสาขาและความนิยมในอาฟเตอร์ ยู