เงิน 2 ล้านเหรียน ถ้าปรับเป็นค่าเงินปัจจุบันคือ 12.87 ล้านเหรียนหรือ 430 ล้านบาท โดยเริ่มต้นเขาเริ่มต้นจากเงินลงทุนเพียง 1 หมื่นเหรียน (มีใส่เพิ่มนะ)

เนื้อหาของหนังสือจะเล่าถึงการลงทุนของ Nicolas Darvas อาชีพของเขาคือนักเต้นตามที่ต่างๆทั่วโลก ซึ่งในยุคที่เขาอยู่คือปี 1952 การสื่อสารที่สำคัญในประเทศคือโทรศัพท์และที่ไกลๆจะเป็นโทรเลข บางครั้งบางคราวที่ๆเขาอยู่ก็ไม่มีแม้แต่โทรเลขใช้ ไม่มีข่าวสารอะไร ความสนุกของเรื่องราวก็คือเขาทำเงินมากขนาดนั้นได้อย่างไร?

การเทรดหุ้นของเขาในตอนเริ่มต้นก็เหมือนคนส่วนใหญ่คือ เชื่อข่าวลือแล้วค้นพบความจริงที่ว่าเชื่อไม่ได้ หลังจากที่เจ็บมาและก็ได้พัฒนามาเป็นสูตรสำเร็จของเขาคือ

1. ทฤษฏีกล่อง เขาบอกว่าให้ดูการเคลื่อนไหวของราคา หุ้นแต่ละตัวจะมีรูปแบบการเคลื่อนไหวของราคาที่แตกต่างกันและถ้าเกิดมันทะยานจุดที่มันควรจะเป็นให้รีบเข้าซื้อ ถ้าในมุมมองปัจจุบันเราจะเรียกว่าแนวรับแนวต้าน
2. งบการเงินดูบ้างผ่านๆพอให้รู้ เขาไม่ได้วิเคราะห์บริษัทเท่าไหร่
3. การซื้อหุ้นข่าวลือ-ทำตามฝูงชนมักจะจบลงด้วยหายนะ บางครั้งการเลือกไม่รับรู้ก็ดีกว่ารู้เสียอีก
4. ไม่มีอะไรแน่นอนในตลาดหุ้น ทุกอย่างสามารถเกิดขึ้นได้
5. อย่าลืมตั้งจุด Cut loss เสมอ นี้เป็นจุดเด่นที่สำคัญที่สุดของเขาเลยที่จำกัดความเสียหายไว้เสมอ (แม้ว่าบางครั้งจะทำให้พลาดโอกาศทองก็ตาม)
6. เขาใช้ Margin เขาช่วยเพิ่มผลตอบแทน แต่หลังๆ ตอนที่มีเงินแล้วไม่ค่อยได้ใช้เท่าไหร่

เอาละจบส่วนของเนื้อหากันแล้วเรามารีวิวกันบ้างว่าควรซื้อไหมหนังสือเล่มนี้ มันคือการเล่าเรื่องราวชีวิตคนๆหนึ่งว่าเป็นอย่างไร ซื้อขายหุ้นอะไร และมีแถมหลักคิดให้นิดหน่อย 70% ของหนังสือเล่มนี้บอกว่าเขาซื้อขายหุ้นอะไรเท่าไหร่และอารมณ์ความรู้สึกเป็นยังไงตอนซื้อหุ้น จำนวนครั้งที่เราไฮไลน์หนังสือเล่มนี้คือ 31 ครั้ง ถือว่าน้อยมากสำหรับหนังสือ 220 หน้า (ขีด 1 ครั้งต่อ 7 หน้า) ถ้าใครคาดหวังเนื้อหาแน่นๆทั้งสาย Technical หรือ Fundamental อาจจะต้องผิดหวังหน่อย

ประวัติของเขาถ้าเกิดว่าลองไปค้นดูจะพบว่าไม่มีการเล่าถึงมูลค่าสินทรัพย์ของเขาเลยมีการเล่าครั้งเดียวคือตอนที่เขาได้ 2 ล้านเหรียน หลังจากนั้นมีเขียนหนังสือออกมาขายอีก 5 เล่มแล้วหายไป ไม่มีการพูดถึงสินทรัพย์ของเขาอีก

เรามองว่านี้เป็นรูปแบบที่เรียกกันว่าความสำเร็จครั้งคราว ซึ่งเรื่องราวอย่างนี้สามารถพบได้บ่อยในช่วงตลาดกระทิง คือได้เงินมาจำนวนมาก แต่ประเด็นก็คือความสำเร็จที่เกิดขึ้นไม่ใช่สิ่งที่ยั่งยืน ผมเชื่อว่าหลังจากนั้นเขาก็ไม่ได้หยุดลงทุนหรอกเขาก็ยังคงลงทุน แต่อาจจะมีได้บ้างเสียบ้างเลยไม่ออกมาให้ข่าว
เรายอมรับความความสำเร็จของ Darvas เป็นสิ่งที่น่าตื่นตาตื่นใจจริงๆ แต่ว่าความสำเร็จในวงการนี้ส่วนใหญ่ต้องพิสูจน์ผ่านกาลเวลา

และใน 1960 นิตยสาร Time ได้ยื่นฟ้องต่อศาลว่าคำกล่าวอ้างของ Darvas ไม่เป็นความจริงเงินที่สามารถตรวจสอบได้จริงมีเพียง 216,000 เหรียนเท่านั้น แต่ศาลได้ยกฟ้องไปเนื่องจากเหตุผลทางด้านเสรีภาพของสื่อ

ความเห็นของเราคือ อ่านเล่นๆเอาสนุกพอได้ แต่ถ้าหวังจริงจังกับเนื้อหาอาจจะผิดหวังหน่อย