#ความลับประกันโรคร้ายที่เป็นแล้วอาจไม่ได้เงิน
ไม่กี่วันที่ผ่านมาได้อ่านเล่มกรมธรรม์ประกันโรคร้ายของคนที่รู้จักแล้วเจอสิ่งที่น่าสนใจเลยเอามาฝาก (ประกันพวกนี้จะมีเรื่องลับ ๆ ให้เราได้ค้นหาเสมอ)
ประกันที่เราจะพูดถึงก็คือ กลุ่มประกันโรคร้าย เช่น ประกันมะเร็ง ที่มักจะมีการโฆษณาว่า หากเราเป็นโรคมะเร็งแล้ว เราจะได้เงิน X,XXX,XXX บาท และจ่ายเบี้ยถูกแสนถูกแค่หลักพันต่อปี ซึ่งดูแล้วก็เหมือนจะดี ที่เราจ่ายน้อยแต่ว่าคุ้มครองมาก แต่ว่าความจริงแล้วมันมีเบื้องลึกเบื้องหลังซ่อนอยู่
ประกันที่เราจะพูดถึงก็คือ กลุ่มประกันโรคร้าย เช่น ประกันมะเร็ง ที่มักจะมีการโฆษณาว่า หากเราเป็นโรคมะเร็งแล้ว เราจะได้เงิน X,XXX,XXX บาท และจ่ายเบี้ยถูกแสนถูกแค่หลักพันต่อปี ซึ่งดูแล้วก็เหมือนจะดี ที่เราจ่ายน้อยแต่ว่าคุ้มครองมาก แต่ว่าความจริงแล้วมันมีเบื้องลึกเบื้องหลังซ่อนอยู่
#นิยามของการเป็นโรคร้ายที่แตกต่างกัน
โดยทั่วไปแล้ว ความเข้าใจของคนทั่วไปเกี่ยวกับประกันโรคร้ายก็คือว่าหากเราพบว่าเป็นโรคแล้ว เราจะได้รับเงินเพื่อไปใช้ในการรักษาให้หาย แต่ว่าในมุมของบริษัทสิ่งที่เขาเขียนในกรมธรรม์มันไม่ได้เป็นอย่างนั้น เพราะว่าเขาจะมีการนิยามโรคร้ายที่แตกต่างกันไปจากความเข้าใจของเรา เช่น
นิยามของโรคมะเร็ง : ต้องเป็นมะเร็งในระยะลุกลามขึ้นไป
นิยามของโรคไต : ไตทั้ง 2 ข้างไม่สามารถใช้การได้
นิยามของอัมพาต : ครึ่งซีกขึ้นไป และแพทย์ลงความเห็นว่าไม่สามารถรักษาได้
นิยามของโรคเกี่ยวกับปอด : ปอด 80% ไม่สามารถใช้การได้และไม่สามารถที่จะพื้นฟูได้
นิยามของโรคไต : ไตทั้ง 2 ข้างไม่สามารถใช้การได้
นิยามของอัมพาต : ครึ่งซีกขึ้นไป และแพทย์ลงความเห็นว่าไม่สามารถรักษาได้
นิยามของโรคเกี่ยวกับปอด : ปอด 80% ไม่สามารถใช้การได้และไม่สามารถที่จะพื้นฟูได้
สรุปแบบสั้น ๆ ก็คือในมุมมองของทางบริษัทถ้าหากว่าเราพูดถึงโรคเหล่านี้ มันจะมีเรื่องของระยะที่เราเป็นเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยเสมอ โดยส่วนใหญ่มันต้องอยู่ในระยะที่รักษาได้ลำบากแล้ว จะเห็นว่าความเข้าใจของเราและบริษัทประกันมีความแตกต่างกันมาก ทำให้เกิดข้อขัดแย้งกันได้ตอนที่จะมีการเคลมเกิดขึ้น
อีกเรื่องหนึ่งก็คือต่อให้มีระบุชื่อโรคแต่ก็ไม่ได้หมายความว่าเราจะได้เงิน เพราะว่าจะมีข้อยกเว้นมากำกับเอาไว้ เช่น ได้รับเงิน 10% ของวงเงิน หรือยกเว้นบางโรค หรือ บางสาเหตุเอาไว้ ต้องดูเป็นรายประกันไป
อีกเรื่องหนึ่งก็คือต่อให้มีระบุชื่อโรคแต่ก็ไม่ได้หมายความว่าเราจะได้เงิน เพราะว่าจะมีข้อยกเว้นมากำกับเอาไว้ เช่น ได้รับเงิน 10% ของวงเงิน หรือยกเว้นบางโรค หรือ บางสาเหตุเอาไว้ ต้องดูเป็นรายประกันไป
#ทำไมบริษัทถึงทำแบบนี้?
บริษัทประกันเหล่านี้จะอยู่ได้ด้วยหลักสถิติและการเฉลี่ยความเสี่ยง ถ้าหากว่าคนที่เขารับทำประกันเป็นโรคน้อย โอกาสที่เขาจะได้กำไรก็มีสูง ดังนั้นเลยมีเงื่อนไขและข้อยกเว้นต่าง ๆ ขึ้นมา เพื่อทำให้โอกาศที่จะเขาเงื่อนไขจ่ายเงินเป็นไปได้น้อยตาม
#แล้วทุกประกันเป็นแบบนี้เหมือนกันหมดเลยหรือเปล่า?
ไม่ขนาดนั้น ประกันบางเจ้าเขาก็จะบอกมาชัดเจนเลยว่าหากตรวจพบได้เท่าไหร่ ขั้นรักษาได้เท่าไหร่ และระยะแพร่กระจายได้เท่าไหร่ ต้องเอารายละเอียดส่วนนี้มาดูกันอีกที แต่ละเจ้าก็จะมีเงื่อนไขที่แตกต่างกันไป เจ้าไหนที่เราเข้าไปหน้าเว็บแล้วแจกแจงละเอียดแบบนี้ก็แสดงว่าใช้ได้ แต่ถ้าเกิดว่าเจ้าไหนที่ไม่แจกแจงละเอียดให้สันนิษฐานไว้ก่อนเลยว่าจะเป็นแบบที่เราได้พูดไป
#แล้วถ้าอยากทำประกันแบบนี้จะต้องทำอย่างไรบ้าง?
ข้อมูลพวกนี้จะไม่มีใครบอกเรา ดังนั้นเราจะต้องอ่านเล่มกรมธรรม์ให้ละเอียด โดยเฉพาะส่วนของนิยามโรค, ข้อยกเว้น และเงื่อนไขการจ่ายเงิน (ภาษาในเล่มจะอ่านยากหน่อย ๆ) ถ้าหากว่าอ่านแล้วยอมรับได้ก็ OK แต่ถ้าหากว่าอ่านแล้วเราไม่ OK เรามีสิทธิ์ที่จะยกเลิกได้ภายใน 15 วันนับตั้งแต่วันที่ได้รับกรมธรรม 30 วันหากเป็นทางโทรศัพท์ (ถ้าเอามาส่งเองจะยึดที่ใบเซ็นรับ, หากส่งไปรษณีย์จะเป็นวันที่ถึงผู้รับ)