TK : บริษัท ฐิติกร จำกัด (มหาชน)

บริษัทธิติกรก่อตั้งขึ้นมาเพื่อให้สินเชื่อรถจักรยานยนตร์ ต่อมาก็บุกเบิกเรื่องประกันภัยรถจักรยานยนต์ และได้ขยายสาขาไปที่กัมพูชาและที่ลาว จุดที่เป็นจุดเด่นของเขาคือเขาเป็นผู้นำทางด้านของสินเชื่อรถจักรยานยนต์ ฐานลูกค้ามาก ผู้บริหารบริหารงานมาอย่างยาวนาน มี 88 สาขาใน 54 จังหวัดทั่วไทย ปีนี้คาดว่าจะเปิดอีก 4 สาขาที่ไทย ไม่เน้นการขยายด้วยหนี้ D/E ต่ำมากอยู่ที่ 1 เอง NPL อยู่ที่ 4.3% สามารถบริหารจัดการได้ เนื่องจากรายได้จากกลุ่มรถยนต์มีเพียงแค่ 1% จึงขอข้ามส่วนนี้ไป

 

อุตสาหกรรมรถยนต์ประเทศไทย

ปีที่ดีสุดที่ผ่านมาคือปี 2012 เป็นปีที่มีมาตรการพิเศษออกมาไม่ว่าจะเป็นรถคันแรกและมาตรการจำนำข้าว หลังจากปีที่ผ่านมาตรการกระตุ้นไปแล้วเราจะเห็นว่ารถจักรยานยนต์ลดลง 2013-2015 ปี2016 ในปี 2017 นี้ยอดขายของอุตสาหกรรมเพิ่งจะกลับมามาเติบโต โดยในไตรมาสที่ 1 เติบโตขึ้นประมาณ 1.65% ไตรมาสที่ 2 โตขึ้นประมาณ 7% เมื่อมองรวมๆในครึ่งปีแรกโตประมาณ 4.3% ผู้ผลิตมองว่าจากที่ตั้งเป้าเอาไว้ทั้งปีที่ 1.75 ก็เปลี่ยนเป็น 1.8 ล้านคัน

ยอดขายของรถจักรยานยนตร์จะดีในช่วงไตรมาส 1 และ 4 ของปี สาเหตุมาจากไตรมาส 4 นี้จะเริ่มมีรายได้จากการเพาะปลูกเข้ามาและไตรมาส 1 เป็นเรื่องของโบนัส

ทั้งประเทศเพิ่มขึ้น 4.3% แต่ว่ายอดขายในกรุงเทพ ไม่ได้เปลี่ยนแปลงมากนัก บางทีต่างจังหวัดทรุดไปแล้วแต่ว่ากรุงเทพไม่ทรุด สาเหตุมาคนที่ซื้อรถส่วนใหญ่ในกรุงเทพคือคนที่มีเงินเดือนประจำดังนั้นเมื่อเกิดภัยแล้งจึงไม่มีปัญหามาก พอช่วงฝนมาต่างจังหวัดเพิ่มแรงแต่กรุงเทพก็ทรงๆ

รถที่ขายดีคือรถกลุ่มสกูตเตอร์ที่ล้อใหญ่หน่อยและก็จักรยานยนตร์ครอบครัว หลังๆก็รถสปอร์ตเริ่มมา (แต่ไม่ใช่ Bigbike นะ) ถ้าเกิดว่าเราแบ่งเป็นสัดส่วนจะเห็นว่ารถครอบครัวสัดส่วนอยู่ที่ 48% ทรงๆ รถสกูตเตอร์ก็หดตัวลงใสจากที่ 48% ลงมาเหลืออยู่ที่ 34% แต่ว่ารถสปอร์ตโตไวก็เพราะว่าผู้ผลิตส่วนใหญ่เริ่มย้ายฐานการผลิตมาไทยและเอารถพวกนี้เข้ามาขาย ยอดขายเริ่มโตจาก 4% มาเป็น 17%

 

เรื่องของธุรกิจของบริษัท

ในตลาดต่างประเทศ กัมพูชามี 3 สาขา ตอนนี้มีแผนจะเปิดเพิ่มอีก 3 สาขา รวมเป็น 6 สาขา ที่ลาวมี 1 สาขา กำลังจะขอเพิ่มอีก 2 แห่ง กำลังอยู่ระหว่างการขออนุญาตจากธนาคารกลางอยู่ 2 ประเทศมีสินเชื่อรวมกัน 250 ล้านบาท มีพนักงานรวมกัน 80 คน สิ้นปีนี้น่าจะเกิน 100 คน NPL ไม่มีปัญหาอะไร ทุกประเทศสามารถทำกำไรได้

กำไรที่ลดลงในปี 2013-2014 เกิดมาจากภัยแล้งทำให้จ่ายไม่ตรงและมีการเร่งตัดหนี้สูญ 2015 เป็นต้นมาสินเชื่อเริ่มกลับมาโตอีกครั้ง รายได้โต 7% แต่ว่ากำไรโต 4% สาเหตุเกิดมาจากนโยบายการตัดบัญชีที่ตัดค่าคอมและค่าใช้จ่ายไปเลยในงวดแรกแต่บริษัทอื่นๆจะค่อยๆทยอยตัดไป เป็นการตัดแบบอนุลักษณ์นิยม

โครงสร้างรายได้ 77.3% มาจากรถมอเตอร์ไซน์ 1% มาจากรถยนต์และ 21.7% เป็นรายได้อื่นๆ เช่น หนี้สูญรับคืน,ดอกเบี้ยล่าช้า,ค่าคอมจากบริษัทประกันภัย จำนวนลูกหนี้ที่ปล่อยออกไปในไตรมาส 1-2 2017 ที่ผ่านมาโตประมาณ 4% ดังนั้นเป้าที่บอกเอาไว้ว่าจะเติบโต 10% ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร อาจจะเกินด้วยซ้ำ ครึ่งปีที่ผ่านมาโตไปแล้ว 10.3% 

ในเรื่องของ NPL จะเห็นว่า โตจาก 4.6 เป็น 4.8% แต่ว่าไม่มีปัญหาอะไรมาก เรื่องการตั้งสำรองหนี้ที่ค้างชำระเกิน 3 เดือนอยู่ที่ 429 แต่ว่าเราตั้งสำรองอยู่ที่ 584 ล้านเกินไป 136%

 

ถามตอบ

สามารถกู้ยืมเงินได้สูงสุดกี่เท่า?

7 เท่า ของ D/E Ratio

มาตรฐานบัญชี IFRS 9 ที่จะใช้ในปี 2562 ต้องตั้งสำรองเพิ่มไหม?

ปรึกษาแล้วคำนวณอยู่ แต่คิดว่าไม่น่าจะมีปัญหาอะไรเพราะบริษัทตั้งสำรองไว้มากและไม่หักหลักประกัน ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร การเติบโตให้แรงมากคงเป็นไปได้ยากเพราะว่าการปล่อยเป็นการปล่อยระยะสั้นมาก 24 เดือน ครบรอบหมดปีก็จะหายไปครึ่งหนึ่ง เพราะฉะนั้นที่โต 10% หมายความว่า ต้องไปหาใหม่เพิ่ม 50% + 10% ใหม่ รถยนต์ ครบกำหนด 5 ปี ครบกำหนดปีหนึ่ง 20% มันเลยโตได้ง่ายกว่า

สินเชื่อที่ต่างประเทศมีเป้าหมายอย่างไรบ้าง?

ตอนนี้ยังเล็กอยู่มาก 3% ของพอร์ตรวม แต่ในแง่การเติบโตถือว่าสูงเพราะว่าครึ่งปีแรกโตอยู่ที่ 93% ลาวโตขึ้น 65% โตสูงจริงแต่มาจากฐานต่ำจึงไม่มีอะไรมาก ตอนนี้มองเรื่องคนเป็นหลักที่ต้องเตรียมไว้ เรื่องเงินไม่มีปัญหาอะไรมาก เป้าที่มองไว้ว่าอยากให้ต่างประเทศโต 50%ก็ยังมองอยู่

 

รีวิวจากลูกค้าที่น่าประทับใจ (ต้องอ่านเพื่อซึบซับอารมณ์ความรู้สึกของลูกค้าตัวจริงเสียงจริง)

https://www.facebook.com/pg/ฐิติกร-Thitikorn-Plc-บริการเช่าซื้อรถจักรยานยนต์-141764385834288/reviews/

https://www.facebook.com/บริษัท-ฐิติกร-จำกัด-มหาชน-457700900934140/

 

คำแนะนำจากลงทุนหุ้น : ………………….