Lazada Thailand ก่อตั้ง ในปี 2555 เป็นส่วนหนึ่งของ Lazada Group ดำเนินธุรกิจอยู่ใน 5 ประเทศได้แก่ ได้แก่ มาเลเซีย อินโดนีเซีย เวียดนาม ฟิลิปปินล์ และไทย Ladaza ประสบความสำเร็จอย่างมากก้าวขึ้นมาเป็นเว็บไซต์ E-Commerce อันดับหนึ่งของไทย และเป็นเว็บที่คนเข้ามากที่สุดอันดับ 6 ของไทย เป็นรองเพียงแค่ Google.co.th, Youtube.com, Facebook.com, Google.com และ Pantip.com

 

ความสำเร็จของ Lazada นี้เกิดจากการเลือกทำสิ่งใหม่และตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า ถ้าย้อนกลับไปเมื่อประมาณ 5 ปีก่อน วงการ E-Commerce ของไทยอยู่ในช่วงเริ่มต้น คนทั่วไปไม่นิยมการซื้อของออนไลน์ เพราะ กลัวไม่ได้ของ แต่ Lazada เข้ามาตอบโจทย์ตรงนี้โดยการเสนอบริการเก็บเงินปลายทาง (COD) เป็นเจ้าแรกๆของไทย ทำให้ผู้ใช้เกิดความเชื่อมั่นมากขึ้น ได้เห็นของก่อนจ่ายเงิน นอกเหนือไปจากเรื่องของ COD แล้ว Lazada ยังมีกลยุทธ์อื่นๆอีกที่ประกอบกันทำให้ Lazada ประสบความสำเร็จ เช่น การจัดส่งฟรี, การทำให้ราคาสินค้าถูกกว่าท้องตลาด เมื่อประมาณ 1 ปีก่อนมีการออกคูปองลดราคาแรงๆดึงคนให้เข้ามาใช้  และการทุ่มงบทางการตลาดมหาศาล ไม่ว่าจะเป็น TV, บิลบอร์ด, SEO, Affiliate เป็นต้น

ตัวบริษัทผู้ก่อตั้ง Lazada ก็มีความไม่ธรรมดาเหมือนกัน บริษัทผู้ก่อตั้ง Lazada มีชื่อว่า Rocket Internet GmbH ดำเนินธุรกิจทางด้านออนไลน์แต่ว่าโมเดลของบริษัทนี้จะค่อนข้างพิเศษก็คือว่า จะมองธุรกิจออนไลน์ที่ประสบความสำเร็จในประเทศตะวันตกแล้ว ลอกมาทำใหม่ในประเทศอื่นๆ (Lazada มีความคล้ายคลึงกับ Amazon) โดยได้ ทุ่มเงิน, ทุ่มคน, ทุ่มงบประมาณลงไป เมื่อธุรกิจนั้นประสบความสำเร็จก็จะขายออกไปเป็นกำไรของทางบริษัทแล้วทางบริษัท Rocket Internet GmbH ก็จะไปมองหาธุรกิจใหม่ๆทำต่อไปเพื่อมาขาย ตัวอย่างธุรกิจที่บริษัทนี้ได้สร้างมาเช่น Foodpanda, Zalora, hello fresh, Hello Fashion group, humia, Home 24 เป็นต้น

เมื่อปี 2559 ที่ผ่านมา มีข่าวช็อกวงการ E-Commerce ไทยคือ Alibaba ได้ประกาศเข้าซื้อ Lazada ทั้งหมด โดยใช้เม็ดเงินรวม 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ(ประมาณ 33,200 ล้านบาท)  500 ล้านดอลลาร์สหรัฐเป็นการซื้อหุ้นจากผู้ถือหุ้นกลุ่มเดิมและอีก 500 ล้านดอลลาร์สหรัฐเป็นการเพิ่มทุนให้กับ Lazada

 

งบการเงิน Lazada

2556 รายได้ 659.6 ล้านบาท, ขาดทุนสุทธิ -519 ล้านบาท

2557 รายได้ 1,539.6 ล้านบาท ขาดทุนสุทธิ -863.1 ล้านบาท

2558 รายได้ 3,174.6 ล้านบาท ขาดทุนสุทธิ -1,958.5 ล้านบาท

 

สินทรัพย์รวม 886 ล้านบาท

หนี้รวม 2,981 ล้านบาท

ส่วนของผู้ถือหุ้น -2,095 ล้านบาท

 

คู่แข่งสำคัญของ Lazada ในไทยคือแอสเซนด์ คอมเมิร์ซ ในเครือบริษัท True เจ้าของ Wemall, Welove shopping, iTrueMart สรุปรายได้สำคัญดังนี้

 

2558 รายได้ 473.6 ล้านบาท, ขาดทุนสุทธิ -284.3 ล้านบาท

2559 รายได้ 869.4 ล้านบาท, ขาดทุนสุทธิ -585 ล้านบาท

 

ในปี 2558 Lazada มีรายได้มากกว่า แอสเซนด์ คอมเมิร์ซ ถึง 6.7 เท่าตัว เป็นการตอกย้ำความเป็นผู้นำในด้าน E-Commerce ของไทยได้อย่างชัดเจน แต่คำถามของเราก็คือ Lazada หมดห่วงหรือยังในธุรกิจนี้? คำตอบที่ชัดเจนที่สุดคือ ไม่! ถึงแม้ว่าเขาจะเป็นผู้นำตลาดอย่างชัดเจน แต่ธุรกิจ E-Commerce ในไทยกำลังอยู่ในช่วงเริ่มต้นเท่านั้น ยังมีผู้เล่นรายใหญ่ๆกระโดดเข้ามาร่วมด้วยมากมายไม่ว่าจะเป็น Shopee จากเครือการีน่า, 11street บริษัท E-Commerce ยักษ์ใหญ่ของเกาหลี และคู่แข่งที่น่ากลับที่สุดของ Lazada ที่กำลังจะเข้ามาก็คือ Central และ JD.com ซึ่งเป็นเบอร์ 2 ของ E-Commerce ในจีน ประกาศลงทุนในไทย 1.7 หมื่นล้าน ถือหุ้น คนละ 50% เพื่อมาสู้ศึกในไทย

 

ทุกเจ้าอยู่ในช่วงของการชิงส่วนแบ่งตลาด ยอมขาดทุนเพื่อดึงลูกค้า ศึก E-Commerce ในไทยยังอีกยาวไกล!