เราคงได้ยินมานานแล้วว่าประเทศไทยกำลังจะมุ่งไปเป็นประเทศพัฒนาแล้ว เราได้ยินมาตั้งแต่เด็ก จนกระทั้งโต มีลูก ลูกเข้ามหาวิทยาลัย ลูกเรียนจบ ลูกทำงาน ประเทศไทยก็ยังไม่กลายเป็นประเทศพัฒนาแล้วสักที แล้วประเด็นคือประเทศไทยจะเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วเมื่อไหร่? เราลองมาดูกันว่าเขามีวิธีการในการคิดอย่างไรและใช้เกณฑ์อะไรในการตัดสินว่าประเทศไหนเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว
การเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วนั้นมีเกณฑ์อยู่หลายข้อด้วยกันแต่ว่าหนึ่งในเกณฑ์ที่สำคัญก็คือเรื่องของรายได้ต่อหัว! ซึ่งรายได้ต่อหัวนี้ไม่ใช่รายได้ธรรมดาแต่เป็น GNI per capita (รายได้ประชาชาติเฉลี่ยต่อหัว) ที่ต้องมีมากกว่ามากกว่า 12,736 USD โดยใช้วิธีคิดแบบ Atlas method ซึ่งเราสามารถดูได้จากตารางด้านล่างนี้จะแบ่งเป็นระดับต่างๆ ในตอนนี้ประเทศไทยอยู่ในระดับประเทศรายได้ปานกลางระดับสูง (ความจริงก็เลยมานิดหน่อยนะ =^=)
นิยามศัพท์
GNI คือ คนในชาติไทยผลิตสินค้าและบริการอะไรออกมาก็เอามานับรวมให้หมด ลบที่เป็นของคนต่างประเทศออกและลบพวกเงินอุดหนุนจากรัฐบาล และอื่นๆ แล้วเอามาหารด้วยประชากร
Atlas method คือวิธีคิดอย่างหนึ่ง ซึ่งยาวพอตัวเลย วิธีการคิดนี้จะเป็นตัวที่ตัดความแปรปรวนของอัตราแลกเปลี่ยน, เงินเฟ้อและตัวเลขอื่นๆออกไปให้กลายเป็ยรายได้เพียวๆ ถ้าใครสนใจลองดูในลิ้งค์นี้ได้ http://econ.worldbank.org/
ประเทศไทยในปัจจุบัน
ในตอนนี้ประเทศไทยมีระดับรายได้ 5,640 USD โดยเฉลี่ยที่ผ่านมาเติบโตประมาณ 4.5% นั้นหมายความว่าถ้าเราลองคำนวณดูจะพบว่า อีกประมาณ 19 ปีเราจะกลายเป็นประเทศพัฒนาแล้ว (โล่งใจที่ได้เห็นในรุ่นเรา)
แต่ว่าหนทางมันก็ไม่ได้สะดวกนัก เพราะว่าอัตราการเติบโตมันลดลงมากในปี 2013 – 2016 นี้สิ เป็นผลมาจากเรื่องเศรษฐกิจโลกชะลอตัว, วิกฤตการณ์การเมืองไทย และการลงทุนของต่างประเทศที่ลดลงเรื่อยๆ อย่างที่เราเห็นในปัจจุบัน
แล้วเราจะทำอย่างไรให้กลายเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วละ?
เรื่องนี้ต้องแบ่งเป็น 3 ส่วนคือ เรื่องคน, เรื่องสินค้า, และเรื่องของรัฐ
คน
นี้หมายถึงเรื่องของคุณภาพของประชาชน ยิ่งประชาชนมีความรู้มากเท่าไหร่ คนก็ยิ่งสามารถทำรายได้มากขึ้นเท่านั้น ระดับการศึกษา, การอบรมความรู้ความสามารถ โดยส่วนตัวชอบไปสัมมนาเรื่อง Startup ก็เห็นภาครัฐเขาพยายามจัดอบรมเยอะมาก แถมยังฟรีอีกด้วยที่เจอบ่อยๆก็คือของ DEPA ที่เชิญวิทยากรระดับเทพมาอบรม (สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล) ต้องขอบคุณเขามาก
มูลค่าสินค้า
หนึ่งในตัววัดเขาคือมูลค่าสินค้า สินค้ายิ่งมีราคาสูงเท่าไหร่ ก็จะยิ่งเพิ่ม GNI ได้มากเท่าไหร่ หรือที่เรามักจะได้ยินบ่อยๆก็คือการสร้างมูลค่าเพิ่มให้สินค้า สินค้านี้ก็มักจะเป็นผลมาจากเรื่องคนนั้นเอง ตัวอย่างที่เห็นชัดคือ เราส่งสินค้าทางการเกษตรมากแต่นั้นสามารถสร้างรายได้ให้แก่ประเทศแค่ 8.6% เท่านั้น 64% มาจากอุตสาหกรรมและการบริการ ไม่ใช่ว่าเราผลิตสินค้าทางการเกษตรน้อย แต่สินค้าทางการเกษตรไม่มีมูลค่าเพิ่มนั้นเอง ถ้าเกิดประเทศเรามีบริษัทอย่างเช่น Apple เกิดขึ้นที่ไทย (ขายมือถือ มีมูลค่าเพิ่มสูงมาก) ประเทศเรากลายเป็นประเทศพัฒนาแล้วได้ทันที
รัฐบาล
เขาก็มีความพยายามออกมาเยอะมาก โดยมีหัวใจที่สำคัญคือการขับเคลื่อนประเทศให้กลายเป็นประเทศพัฒนาแล้ว (ต้องขอบคุณภาครัฐมากที่ใส่ใจเรื่องนี้) เราจึงเห็นเขาเข็นโครงการดีๆออกมามากมาย ตัวอย่างคือ แผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ที่ในไส้ในมีรายละเอียดเยอะมาก เช่น โครงสร้างพื้นฐาน, ประชาชน, เทคโนโลยี, EEC เป็นต้น ซึ่งเราก็ต้องจับตาดูตรงส่วนนี้ต่อไป
ประเทศไทยยังมีความหวังอยู่ในการกลายเป็นประเทศพัฒนาแล้ว
แหล่งข้อมูล : เอกสาร ประเทศไทย กับ กับดักรายได้ปานกลาง โดย นางสาวมัณฑกา ลบล้ำเลิศ