ทุกคนที่ซื้อหุ้นก็หวังว่าหุ้นที่เราซื้อจะทำกำไร ยิ่งได้เยอะเท่าไหร่ก็ยิ่งดี แต่ว่าบางครั้งชีวิตก็ไม่เป็นอย่างที่เราหวังเอาไว้ เมื่อเราต้องมาขาดทุนจากการซื้อหุ้นตัวนั้น แล้วเราจะเอายังไงต่อดี? ตามหลักการทั่วไปนั้นก็บอกเอาไว้ว่า “เราต้องขายการลงทุนนั้นออกมาแล้วไปหาการลงทุนใหม่ที่ดีกว่า” ซึ่งตามหลักการนั้นมันง่ายแต่ว่าในการทำงานจริงมันยากมาก เพราะมีเรื่องของอารมณ์, เรื่องของการลงทุนใหม่ ที่เราไม่รู้ว่าจะดีกว่าเก่าจริงไหม หรือว่ามันจะแย่กว่าเก่าไปอีก (เหมือนหนีเสือปะจระเข้) หรือว่าเมื่อเราขายหุ้นออกไปแล้วอาจจะพุ่งทะยานเลยก็ได้ กลายเป็นการขายหมู ในบทความนี้เราจะมาพูดถึงว่าทำไมเราถึงต้องขายออกไปและถ้าเราคิดจะขายแล้วเรามีกลยุทธ์ในการตัดสินใจอย่างไร
ความเป็นจริงที่โหดร้าย เมื่อการขาดทุนง่ายกกว่าการทำกำไร
เปอร์เซ็นต์ที่ขาดทุน / เปอร์เซ็นต์ที่ต้องทำกำไรเพิ่มเพื่อให้คืนทุน
10% / 11%
15% / 18%
20% / 25%
25% / 33%
30% / 43%
35% / 54%
40% / 67%
45% / 82%
50% / 100%
จากตารางนี้เราจะเห็นความเป็นจริงที่โหดร้ายในการลงทุน เช่นถ้าเกิดว่าเราขาดทุนไป 10% เราต้องทำกำไรกลับมา 11% ถึงจะได้เงินกลับมาเท่าเดิม และตัวเลขนี้จะเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ ถ้าขาดทุนไปแล้ว 50% เปอร์เซ็นต์ที่เราต้องทำเพื่อให้กำไรกลับมาเท่าเดิมคือ 100% คิดแล้วหนาวทันที เพราะว่า เราจะหาหุ้นตัวไหนในตลาดละที่ให้ผลตอบแทนได้มากขนาดนั้น?
แต่ว่าถ้าเกิดว่าเราไม่ขายก็ไม่ขาดทุนไม่ใช่หรอ? มันก็จริงที่การขาดทุนกำไร ตราบใดที่ยังไม่ขายออกมาก็เป็นเพียงแค่การขาดทุนทางบัญชีเฉยๆ แต่ว่ามีสิ่งที่น่าสนใจก็คือ
1. ไม่มีอะไรรับประกันว่าราคาหุ้นจะกลับมา ถ้าหากว่าการที่หุ้นราคาลดลงมาเกิดจากการเปลี่ยนแปลงพื้นฐานของธุรกิจหรือเจ้าของเล่นไม่ซื้อ การขาดทุนนั้นจะเกิดขึ้นอย่างถาวร ยังจำหุ้นสินเชื่อตัวหนึ่งได้ไหม จากราคาหุ้น 57 บาท ดิ่งลงมาอยู่ที่ 7 บาท จากการที่เจ้าของเล่นไม่ซื่อ นี้คือรูปแบบหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงในระยะยาวที่ราคาหุ้นจะไม่กลับมาแน่นอน
2. เสียเวลา หุ้นในตลาดมีหลายร้อยตัว เรายอมตัดขาดทุนไปก่อนดีกว่าไหม แล้วไปลงทุนกับตัวอื่น เพราะว่าการจมอยู่กับหุ้นตัวหนึ่ง อาจจะนาน 3 ปี 5 ปี ระหว่างนั้นถ้าเราไปลงทุนกับตัวอื่นเราอาจจะได้กำไรมากกว่าแล้วก็ได้
แล้วถ้าเกิดว่าเราต้องการจะขายแล้วเรามีหลักการอย่างไร?
ทางเราเพจลงทุนหุ้นมีหลักคิดง่ายๆ เป็นคำถาม 3 ข้อที่เราจะตัดสินใจว่าจะขายเมื่อไหร่
1.ทำไมเราถึงเลือกซื้อหุ้นตัวนั้น?
2.มีอะไรเปลี่ยนแปลงไปหรือเปล่า?
3. การเปลี่ยนแปลงนั้นกระทบต่อเหตุผลที่เราเลือกลงทุนในบริษัทนั้นหรือเปล่า?
1. ทำไมเราถึงเลือกซื้อหุ้นตัวนั้น?
ทุกๆครั้งที่เราเลือกซื้อหุ้นสักตัว เราต้องจดเอาไว้เสมอว่าทำไมเราถึงเลือกซื้อหุ้นตัวนี้ เช่น เราซื้อเพราะว่าธุรกิจมันดีมากกำลังจะขยายตัว, เพื่อนบอก จดเอาไว้ก่อนอะไรก็ได้
2. มีอะไรเปลี่ยนแปลงไปหรือเปล่า?
การที่ราคาหุ้นลดลงเป็นเรื่องที่น่าหวาดหวั่น แต่ให้เราพยายามหาว่าธุรกิจมีอะไรเปลี่ยนแปลงไปหรือเปล่า เช่น ผลประกอบการขาดทุน, ผู้บริหารเริ่มทำอะไรแปลกๆ หรือว่าไม่ได้ทำอะไร อยู่เฉยๆมันก็ลดลง
3.การเปลี่ยนแปลงนั้นกระทบต่อเหตุผลที่เราเลือกลงทุนในบริษัทนั้นหรือเปล่า?
หลังจากที่เราตรวจสอบแล้วเราก็เอาสาเหตุมาเทียบดูกับเหตุผลที่ซื้อหุ้น ถ้ามันตรงกันเช่น เราซื้อเพราะว่า ธุรกิจกำไรจะเติบโต-ยอดขายสินค้าจะดี แต่ว่าผลออกมาไม่เป็นอย่างที่หวัง เราก็ต้องมาพิจารณาแล้วละว่านี้คือเรื่องชั่วคราวหรือถาวรแล้วเรา Ok กับเรื่องนี้ไหม ถ้าไม่ Ok ก็ขายออกมา แต่ถ้าเกิดตรวจสอบดูแล้วไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงแล้วราคาลงนั้นก็อาจจะเป็นโอกาสทำกำไรของเราก็ได้
อย่างเช่นหุ้น PTTEP เคยลงไปที่ 30 กว่าบาทจากการขาดทุนทางบัญชี ในเวลาไม่นานก็กลับมา 90 กว่าบาท สวยงามกันเลยทีเดียว ขอให้ทุกคนร่ำรวยจากตลาดหุ้น จาก เพจ ลงทุนหุ้น
ขอบคุณข้อมูลจาก investopedia.com