ช้อปช่วยชาติ 2560 มาอีกแล้วกับมาตรการจากภาครัฐที่ช่วยกระตุ้นการใช้จ่าย โดยมียอดเงินที่เราสามารถลดหย่อนได้สูงสุดอยู่ที่ 15,000 บาท ซึ่งเราสามารถสามารถซื้อของแล้วไปขอคืนภาษีได้  ซึ่งมาตรการตัวนี้ถ้าเราจะใช้ ต้องคำนวณดีๆ เพราะไม่อย่างนั้นอาจจะไม่คุ้มได้ (สำคัญมาก) เรามาดูว่าเราจะต้องคิดอย่างไร และรายได้ของเราจะคุ้มหรือไม่

วิธีการคำนวนเงินได้และภาษี

อย่างแรกที่ต้องเข้าใจก่อนเลยก็คือเราจะได้เงินคืนจากกรมสรรพากรก็ต่อเมื่อเรามีการเสียภาษีให้รัฐบาล คนที่จะเสียภาษีให้กับรัฐบาลต้องมี “เงินได้” มากกว่า 150,000 บาท/ปี แต่ว่าเงินได้นี้ไม่ได้หมายถึงเงินเดือนเพราะต้องเอาไปหักลบกันค่าลดหย่อนที่รัฐบาลให้มาก่อน

ในปีนี้ภาษีเปลี่ยนใหม่ให้ค่าลดหย่อนมามากถึง 160,000 บาท (ค่าใช้จ่าย+ค่าลดหย่อน) หมายความว่า

– ถ้าเรามีเงินเดือน 25,000 คิดเป็นปีละ 300,000 บาท

– ลบค่าลดหย่อนไป 160,000 บาท

– เหลือเงินได้คำนวณภาษี 140,000 บาท

เท่ากับว่าเราไม่ต้องเสียภาษี เพราะฉะนั้นมาตรการนี้จะใช้ไม่ได้กับเรา ซึ่งในเงินได้อันนี้เป็นแบบคร่าวๆของจริงในแต่ละคนต้องลงลึกเรื่องรายละเอียดเยอะมาก เช่น เรื่องของโบนัส, รายได้อื่นๆที่ได้รับ (บางคนทำมากกว่า 1 งาน), สิทธิ์ลดหย่อนอื่นๆเช่น RTF, LMF, ประกันสังคมและกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เป็นต้น ซึ่งเราได้เตรียม Excel แล้วสามารถโหลดได้จากที่นี้ สามารถกรอกแล้ว Excel จะช่วยคำนวนให้

แล้วเราจะได้ลดหย่อนเท่าไหร่?

คราวนี้แล้วจะคำนวณอย่างไรว่าเราจะได้ลดหย่อนเท่าไหร่ ถ้าเกิดว่าเราใช้สิทธิ์เต็มที่ 15,000 บาท คำตอบก็คือ มันจะเป็นไปตามฐานภาษีที่เราจ่าย ซึ่งวิธีการคำนวนคือ “เงินที่ใช้สิทธิ์ * ฐานภาษี” = เงินที่ได้ลดหย่อย เช่น

– ใช้สิทธิ์ 10,000 บาท

– ฐานภาษี 5%

10,000 * 5% = 500 บาท

เท่ากับว่าเราได้เงินคืน 500 บาท ซึ่งรายละเอียดคร่าวๆสามารถที่จะดูได้จากตารางนี้ จะเห็นว่าคนที่ใช้แล้วคุ้มคือคนที่จ่ายภาษีให้กับรัฐบาลมาก แต่ถ้าเกิดว่าฐานภาษีต่ำ ทางเราลงทุนหุ้นก็มองว่าไม่ค่อยคุ้มเท่าไหร่

 

รายละเอียดของการใช้สิทธิ์

– ผู้ซื้อสินค้าและบริการเป็นบุคคลธรรมดา ไม่รวมคณะบุคคล
– ใช้สำหรับการลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ประจำปี 2560 ที่จะยื่นแบบในต้นปี 2561
– ซื้อสินค้าและชำระค่าบริการ ระหว่างวันที่ 11 พฤศจิกายน – 3 ธันวาคม 2560
– ซื้อสินค้าและบริการในประเทศ จากผู้ประกอบกิจการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) (ไม่รวมการจ่ายบริการนำเที่ยวและค่าที่พัก)
– สินค้าหรือบริการนั้นต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตรา 7% กรณีสินค้าหรือบริการได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ไม่สามารถนํามาหักลดหย่อนได้
– ลดหย่อนได้ตามจริง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท (รวม VAT แล้ว)
– ต้องมีหลักฐานเป็นใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป ตามมาตรา 86/4 แห่ง ป.รัษฎากร

 

สินค้าที่ลดหย่อนได้และไม่ได้

 

ขอให้ทุกคนสมุกกับการช๊อป!